จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

4141

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

Quiz การสารธารณสุขพื้นฐาน

โจทย์


๑.  ความสำคัญของงานสาธารณสุขมูลฐานในระยะเริ่มแรก คือข้อใด 
     ก. เพื่อขยายบริการด้านสาธารณสุขให้ครอบคลุม
     ข. เพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานบริการให้ได้มาตรฐาน
     ค. เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีหลักประกันทางด้านสุขภาพ
     ง. เพื่อพัฒนาการพึ่งตนเองด้านสุขภาพในระดับผู้นำสุขภาพประจำครอบครัว
๒. ข้อใด คือความหมายของ สาธารณสุขมูลฐาน
     ก. การขยายสถานบริการของภาครัฐและเอกชน ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
     ข. การที่ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ ก่อนจะใช้บริการของรัฐ
     ค. การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็วในการให้บริการด้านสาธารณสุข 
     ง. การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทางด้านสุขภาพให้มีความชำนาญเฉพาะทาง
๓. พัฒนาการงานสาธารณสุขมูลฐานด้าน การใช้ จปฐ. เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 
เริ่มเกิดขึ้นในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับใด
     ก. แผนฯ ๔
     ข. แผนฯ ๕
     ค. แผนฯ ๖
     ง. แผนฯ ๗
๔. ข้อใด คือ ไม่ใช่ องค์ประกอบของสาธารณสุขมูลฐาน( Essential Element PHC )
    ก. การทันตสาธารณสุข
    ข. การป้องกันอุบัติเหตุ
    ค. การเฝ้าระวังโรคติดต่อ 
    ง. การสร้างหลักประกันสุขภาพ 
๕. การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่วิธีข้อใด สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับสูงสุด
    ก. แจกพันธุ์ปลาไปเลี้ยง
    ข. สอนวิธีแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลา
    ค. บอกเทคนิควิธีการตกปลา
    ง. แนะนำให้ขุดสระเลี้ยงปลา

ตอบ
๑. ก. เพื่อขยายบริการด้านสาธารณสุขให้ครอบคลุม
๒. ข. การที่ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ ก่อนจะใช้บริการของรัฐ
๓. ข. แผนฯ ๕
๔. ง. การสร้างหลักประกันสุขภาพ 
๕. ค. บอกเทคนิควิธีการตกปลา

Quiz จังหวะคิวบา รุมบ้า

คำถาม


๑. จังหวะคิวบา รุมบ้า จัดเป็นจังหวะแบบใด
     ก. ละตินอเมริกา  ข. ฝรั่งเศส  ค. อังกฤษ  ง. แอฟริกา
๒. รูปแบบการนับจังหวะของคิวบา รุมบ้าเป็นอย่างไร
     ก. เร็ว เร็ว เร็ว       ข. ช้า ช้า ช้า
     ค. ช้า เร็ว เร็ว        ง. เร็ว ช้า ช้า
๓. จุดสำคัญในจังหวะคิวบา รุมบ้าอยู่ที่ใด
     ก. มือ  ข. หัว  ค. ขา  ง. เท้า
๔. ข้อใดไม่ใช่ทักษะการเต้นรำของคิวบา รุมบ้า
     ก. สแควร์  ข. การไขว้  ค. การหมุน  ง. การกระโดด
๕. จังหวะรุมบ้า คล้ายจังหวะใด
     ก. รำไทย  ข. วอลทซ์  ค. แจ๊ส  ง.บลูส์

.........................................................................................................................


ตอบ
๑. ก. ละตินอเมริกา
๒. ค. ช้า เร็ว เร็ว
๓. ง. เท้า
๔. ง. การกระโดด
๕. ข. วอลทซ์

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

การสาธารณสุขพื้นฐาน

การสาธารณสุขมูลฐาน

การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีทางการสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นจากระบบบริการสาธารณสุข ของรัฐ ซึ่งมีอยู่ในระดับตำบลและหมู่บ้าน การสาธารณสุขมูลฐานเป็นวิธีการให้บริการ สาธารณสุขที่ผสมผสานทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่ดำเนินการโดยประชาชนเอง ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและการประเมินผล โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้การศึกษา ฝึกอบรมและระบบส่งต่อผู้ป่วย โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก


นอกจากนี้ การสาธารณสุขมูลฐานยังเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาชุมชน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยอาศัยการพัฒนาสาธารณสุขผสมผสานไปกับการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น การศึกษา การเกษตรและสหกรณ์ การพัฒนาชุมชน ฯลฯ โดยอาศัยความร่วมมือของชุมชนในเรื่องต่าง ๆ เช่น ความคิด แรงงาน เงิน หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ความร่วมมือเหล่านี้จะต้องเป็นความต้องการและความสมัครใจของชุมชนเอง ในอันที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อตัวของเขาเอง เพื่อครอบครัว และเพื่อชุมชนของเขา โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น


นอกจากงานสาธารณสุขมูลฐานจะได้ชื่อว่าเป็นจุดศูนย์กลางของการผสมผสานของงานต่าง ๆ ภายในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเกี่ยวโยงกับงานพัฒนาด้านอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าการพัฒนางานสาธารณสุขแต่เพียงส่วนเดียว ไม่สามารถที่จะขจัดปัญหาสาธารณสุขของประเทศได้ เพราะว่างานสาธารณสุขนั้น จะต้องควบคู่กันไปกับงานพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน เช่น รายได้ การครองชีพ อาชีพ ภาวะการศึกษา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การสาธารณสุขมูลฐาน จึงเป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญของการผสมผสานระหว่างงานสาธารณสุข และงานพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและสังคม


ความสำคัญของการสาธารณสุขมูลฐาน


นโยบายพัฒนาชนบทและเขตเมืองเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล ในอันที่จะทำให้ประชาชนที่มีฐานะยากจน ด้อยการศึกษา และมีสถานภาพทางสุขภาพต่ำ ให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่วนที่ดีอยู่แล้วก็ให้รักษาระดับไว้ได้หรือดียิ่งขึ้นไป
ทั้งนี้เพราะรัฐบาลเล็งเห็นว่าสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้เร่งระดมทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาดำเนินการในการให้บริการสาธารณสุขให้แก่ประชาชน แต่บริการสาธารณสุขเหล่านั้น ยังไม่สามารถครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ได้ ทั้งนี้เพราะงบส่วนใหญ่นำไปใช้ในการจัดสร้างสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดบริการสาธารณสุข นอกจากมีงบประมาณจำกัดแล้ว การกระจายบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขยังอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลย์กันอีกด้วย โดยยังกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลวงหรือตามเมืองใหญ่ และประชาชนยังขาดความรู้ในเรื่องสุขภาพอนามัยและประโยชน์ของสถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้บริการสาธารณสุขที่รัฐจัดให้จึงเป็นบริการที่ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้ทัน ถ้าหากไม่หากลวิธีในการแก้ปัญหาเสียใหม่ ซึ่งกลวิธีนั้นก็คือ กลวิธีในการพัฒนาประชาชนให้เกิดความรู้ความสามารถที่จะช่วยเหลือ หรือดำเนินการสาธารณสุขที่จำเป็นขั้นมูลฐานหรือขั้นพื้นฐานได้ด้วยตัวของเขาเอง โดยวิธีการอย่างนี้ก็จะมีงานสาธารณสุขที่ประชาชนทำได้และประชาชนทำไม่ได้ รัฐบาลจะทำในสิ่งที่ประชาชนทำไม่ได้ และจะต้องพัฒนาให้ประชาชนเกิดความสามารถทำในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ โดยอาศัยวิทยาการและวิทยากรต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้พอจะมองเห็นได้ว่าทรัพยากรไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นมากมาย แต่บริการสาธารณสุขที่จำเป็นขั้นมูลฐานหรือขั้นพื้นฐานสามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างทั่วถึงทุกคน


ดังนั้นการที่จะขยายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรในชนบทให้ได้มากยิ่งขึ้นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาประชาชนมามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชน และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่ด้วยวิธีหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งนี้โดยประสานความคิดและความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยภาครัฐให้การสนับสนุนเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนให้ความรู้ด้านสาธารณสุขที่จำเป็นแก่อาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในชุมชนของตนเอง แนวความคิดในลักษณะนี้เรียกว่า "การสาธารณสุขมูลฐาน"


ความสำคัญของงานสาธารณสุขมูลฐานนั้นอยู่ที่ว่า ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของในงานสาธารณสุขที่จำเป็นเบื้องต้นหรือมูลฐาน คืองานด้านการดูแลรักษาโรคหรือการเจ็บป่วยที่จำเป็น การรู้จักระวังและป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ ๆ และพบบ่อยในหมู่บ้าน การมีความรู้ทางด้านสาธารณสุข เช่น สุขาภิบาล อาหาร อนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เป็นต้น โดยความรู้เหล่านี้ไม่ใช่เพียงแต่รู้อยู่เฉพาะคนหนึ่งคนใด แต่จะต้องมีการแพร่กระจายความรู้ดังกล่าวรวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูลไปสู่เพื่อนบ้านและชุมชนด้วย ภาระกิจเหล่านี้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลโดยระบบบริการของรัฐมีความปารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชนทุกคน


การสาธารณสุขมูลฐาน จึงเป็นกลวิธีที่เหมาะสมในอันที่จะสามารถช่วยให้การบริการสาธารณสุขผสมผสานทั้งด้านป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพ สามารถให้การดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมประชากรได้อย่างทั่วถึง และสามารถที่จะนำ้ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งไปสู่การมีสุขภาพดีถ้วนหน้า สมดังความปารถนาขององค์การอนามัยโลก ที่ตั้งความหวังไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2543 ที่ผ่านมานั้น ประชาชนทุกคนจะมีสุขภาพดีถ้วนหน้าตามที่ควรจะเป็น ตามสภาพเศรษฐกิจและสภาพของท้องถิ่น งานสาธารณสุขมูลฐาน จึงเป็นกลวิธีที่สำคัญที่เสริมบริการสาธารณสุขของรัฐให้ได้ผลครอบคลุมประชาชนทุกคน โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมากนัก ซึ่งทุกประเทศทั่วโลกต่างก็เห็นพ้องต้องกันในหลักการและกลวิธีของการสาธารณสุขมูลฐาน และกลวิธีนี้ไม่จำเพาะต้องจำกัดอยู่ในเฉพาะประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือที่กำลังพัฒนาเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็กำลังหันกลับมาใช้กลวิธีนี้เช่นเดียวกัน


องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน


องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานของประเทศไทยนั้น มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน โดยเป็นองค์ประกอบที่มีความเชื่อมโยงกับงานบริการสาธารณสุขพื้นฐาน (Basic Health Service) ซึ่งรัฐบาลได้เป็นผู้จัดให้แก่ประชาชน


องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานดังกล่าวประกอบด้วยการบริการแบบผสมผสาน 4 ด้าน คือ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นงานที่ประชาชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ออกเป็นงานต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่าเป็นองค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 14 องค์ประกอบคือ


1. งานโภชนาการ อสม. มีหน้าที่กระตุ้นเตือนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้น เช่น โรคขาดสารอาหารในเด็ก 0-5 ขวบ หรือเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำเป็นต้น โดยร่วมมือกับกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำ กลุ่มแม่บ้าน ในการค้นหา สำรวจสภาวะอนามัยเด็ก ชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ขวบ ทุกคนเป็นประจำ เมื่อพบเด็กคนใดที่ขาดสารอาหารก็ดำเนินการให้อาหารเสริมโดยเร็ว ให้ความรู้แก่แม่ในการให้อาหารแก่ทารก ตลอดจนส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร




2. งานสุขศึกษา ให้สุขศึกษาในเรื่องต่าง ๆ เช่น ปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น การร่วมกันแก้ไขปัญหา เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน


3. การรักษาพยาบาล อสม. ให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็นเบื้องต้นแก่ชาวบ้าน ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสามารถของ อสม. ในการรักษาพยาบาล และชี้แจงให้ทราบถึงสถานบริการของรัฐ ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยถ้าเกินความสามารถของ อสม.


4. การจัดหายาที่จำเป็น ดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้าน หรือจัดหายาที่จำเป็นไว้ให้บริการในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) และดำเนินการให้ประชาชนสามารถซื้อยาที่จำเป็นเหล่านี้จากกองทุน หรือ ศสมช. ได้สะดวก รวดเร็ว และมีราคาถูก


5. การสุขภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด อสม. ชี้แจงให้ประชาชน กรรมการหมู่บ้าน ทราบถึงความสำคัญของการจัดหาน้ำสะอาดไว้ดื่ม การสร้างส้วม การกำจัดขยะมูลฝอย และการจัดบ้านเรือนให้สะอาด เป็นต้น


6. อนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว อสม. ชี้แจงและจูงใจให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการวางแผนครอบครัว ความจำเป็นของการดูแลก่อนคลอด (การฝากครรภ์) และการดูแลหลังคลอด นัดหมายมารดามารับบริการและความรู้ในการปฏิบัติตน การกินอาหาร ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิต นัดเด็กมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ


7. งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่น อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบว่าในหมู่บ้านมีโรคอะไรที่เป็นปัญหา เช่น โรคอุจาระร่วง โรคพยาธิ ไข้เลือดออก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการป้องกันและรักษา รวมทั้งการร่วมมือกันในการดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดขึ้นได้


8. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความสำคัญของการให้วัคซีนป้องกันโรคติดต่อ และนัดหมายเจ้าหน้าที่ออกไปให้บริการแก่ประชาชนตามจุดนัดพบต่าง ๆ


9. การส่งเสริมสุขภาพฟัน อสม. ชี้แจงและให้ความรู้กับประชาชนถึงการดูแลฟัน การรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน นัดหมายประชาชนให้มารับบริการในสถานบริการหรือเมื่อมีหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่เข้ามาในชุมชน


10. การส่งเสริมสุขภาพจิต อสม. ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงการส่งเสริมสุขภาพจิต การค้นหาผู้ป่วยในระดับชุมชน เพื่อจะได้รับการแนะนำ การรักษาที่ถูกต้อง


11. อนามัยสิ่งแวดล้อม อสม. ร่วมถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมกับประชาชน ประชาชนทุกคนเฝ้าระวังมิให้มีการกระทำที่ก่อให้เกิดมลภาวะ องค์กรชุมชนร่วมกันวางแผนแก้ปัญหาของชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ส่งเสริมและให้ความรู้เรื่องสารเคมีในการเกษตร แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการกับผู้กระทำผิด


12. คุ้มครองผู้บริโภค อสม. ร่วมกับประชาชนสอดส่องดูแลพฤติกรรมของร้านค้า รถขายยาเร่ ฯลฯ หากพบเห็นผู้กระทำผิดกฏหมายก็แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการ อสม.ร่วมกันให้ความรู้แก่เพื่อนบ้านในการเลือกซื้อสินค้า เช่น อาหาร เครื่องปรุงรส ขนม เครื่องสำอางที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์ อย. มาใช้ ตลอดจนอาจจัดตั้งกลุ่ม ชมรม เพื่อร่วมมือประสานงานกันดูแลประชาชนในพื้นที่


13. การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ อสม. ร่วมกันค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อ วิธีการปฏิบัติตนให้พ้นจากการเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่าง ๆ ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงแนวทางการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย ตลอดจนสร้างเสริมความมีน้ำใจและเอื้ออาทรต่อผู้พิการในชุมชนและร่วมกันฟื้นฟูสภาพผู้พิการ


14. เอดส์ อสม. ให้ความรู้กับประชาชนให้ทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ ตลอดจนมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเอดส์ ให้สามารถอาศััยอยู่ในชุมชนได้โดยชุมชนยอมรับ และไม่แพร่กระจายโรคเอดส์สู่คนในชุมชน


องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานทั้ง 14 องค์ประกอบนี้ ไม่จำเป็นต้องเริ่มทีเดียวพร้อมกันหมดทุกอย่าง อาจจะเริ่มในเรื่องที่ประชาชนคิดว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นจริง ๆ ของชุมชนของตนเองก่อน แล้วภายหลังต่อมาก็ขยายต่อไปได้อีก และถ้าหากชุมชนใดไม่มีปัญหาในบางเรื่องเหล่านี้ องค์ประกอบที่ดำเนินการก็อาจลดลงได้ตามสภาพของความเป็นจริงของชุมชนนั้น ๆ

จังหวะคิวบา รุมบ้า (cuban rumba)

รุมบ้า (RUMBA)


  • การเต้นรำจังหวะรุมบ้า
    รุมบ้าเป็นจังหวะที่จัดอยู่ในพวกลาตินอเมริกัน (Latin American) กำเนิดขึ้นในชนชาติหมู่เกาะคิวบา จังหวะนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่แพร่ออกสู่โลกลีลาศหลังแทงโก้ (Tango) และวอลทซ์ (Waltz) ปัจจุบันนี้จังหวะรุมบ้า (Rumba) เป็นที่รู้จักกับคนทั่วโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ลักษณะการลีลาศจังหวะรุมบ้าเป็นการลีลาศคล้ายๆ จังหวะวอลทซ์ แต่จังหวะค่อนข้างเร็วกว่า การก้าวเท้าก็สั้นกว่า และนอกจากนี้รุมบ้ายังต้องใช้สะโพกเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของเท้าด้วย คือนับตั้งแต่เอวลงไปให้โยกหรือส่ายสะโพกได้เล็กน้อยให้ดูแต่พองาม ถ้าโยกหรือส่ายมากจะดูเป็นเรื่องน่าเกลียดไป และไม่สวยงามด้วย
  • การใช้สะโพกเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับการก้าวเท้านั้น เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องฝึก ผู้ฝึกใหม่อาจจะฝืนตัวเองเล็กน้อย เพราะผู้ฝึกใหม่ส่วนมากใจมักจะมุ่งอยู่ที่การก้าวเท้าให้ถูกสเต็ปเท่านั้น ความสวยงามของรุมบ้านั้นอยู่ที่การก้าวเท้า การถ่ายเทน้ำหนักตัว และการใช้สะโพก ทั้งสามอย่างนี้ต้องให้สัมพันธ์กันและเป็นไปตามหลักธรรมชาติ ส่วนลำตัวตั้งแต่เอวขึ้นไปให้อยู่ในลักษณะตรงแบบสบายๆ ไม่เกร็ง ไม่ยืดคอ ไม่แอ่นอก ไม่ทำหลังค่อม และไม่เอียงตัวไปมา
  • การนับจังหวะ
    จังหวะนับ นับ ช้า ช้า เร็ว หรือนับ 1 2 3
  • ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการลีลาศจังหวะรุมบ้าก็คือ การใช้เท้า โดยเฉพาะการใช้สปริง ข้อเท้าและที่หัวเข่า ซึ่งมีทั้งเหยียดตึงและงอ การใช้สปริงข้อเท้าจะเกิดบ่อยขณะที่ก้าวเท้า เมื่อเท้าใดก้าวไปแตะพื้น น้ำหนักตัวก็ต้องเทไปที่เท้านั้นทุกครั้งไปพร้อมกับใช้สปริงที่ข้อเท้าด้วย


การจับคู่


                                              



ภาพที่ 1 การจับคู่ที่ถูกต้อง


  • ทักษะการเต้นรำจังหวะรุมบ้า
    1. สแควร์ (Square)
    2. การไขว้
    3. การหมุน



สแควร์ (Square)




ภาพที่ 2 ท่าสแควร์


การก้าวเท้าขั้นต้น (Basic Walk) ในท่าสแควร์ของฝ่ายชาย


การก้าวเท้าขั้นต้น (Basic Walk) เป็นทักษะขั้นแรกของรุมบ้า และเป็นวิธีฝึกที่ง่าย เพราะลักษณะการก้าวเท้าเดินนั้นเหมือนจังหวะวอลทซ์ ผิดกันก็ตรงที่จังหวะการก้าวเท้าเร็วกว่ากัน และการใช้สะโพกโยกเล็กน้อยเท่านั้น
การจับคู่ จับแบบปิด หันหน้าตามแนวลีลาศ


  • จังหวะนับมี 3 ก้าว คือ 1 2 3 หรือ ช้า ช้า เร็ว
    ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายออกไปข้างหน้า นับ 1 ช้า
    ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าขวาเยื้องขวาไปข้างหน้า ให้ปลายเท้าอยู่ระดับเดียวกับ
    ปลายเท้าซ้าย นับ 2 ช้า
    ก้าวที่ 3 ลากเท้าซ้ายไปชิดเท้าขวาเร็วๆ นับ 3 เร็ว
  • *เมื่อจบแล้วให้รีบก้าวเท้าขวาออกไปแล้วนับ 1 ใหม่ *


ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าขวาออกไปข้างหน้า นับ 1 ช้า
ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายเยื้องซ้ายไปข้างหน้า ให้ปลายเท้าซ้ายเสมอระดับ
ปลายเท้าขวา นับ 2 ช้า
ก้าวที่ 3 ลากเท้าขวามาชิดเร็วๆ นับ 3 เร็ว



เมื่อทำการก้าวขั้นต้น เดินหน้าได้แล้ว ก็ลองทำการก้าวเท้าขั้นต้นเดินถอยหลังดูบ้าง ซึ่งลักษณะการเดินก็เหมือนกันกับเดินหน้า เป็นแต่เพียงถอยหลังเท่านั้น หรือจะไปดูการก้าวเท้าขั้นต้นของหญิงก็ได้ ซึ่งเป็นการก้าวเท้าขั้นต้นถอยหลัง
การก้าวเท้าขั้นต้น (Basic Walk) ในท่าสแควร์ของฝ่ายหญิง
เป็นทักษะขั้นแรกของรุมบ้าซึ่งมีลักษณะการเดินและแบบ (Figure) เหมือนจังหวะวอลทซ์เสียส่วนมาก จะแตกต่างกันก็ตรงที่จังหวะการก้าวเท้าเร็วกว่ากัน และการใช้สะโพกส่ายให้สัมพันธ์กับการก้าวของเท้าเท่านั้น
การจับคู่ จับแบบปิด หันหน้าเข้าหาคู่


  • จังหวะนับมี 3 จังหวะ คือ 1 2 3 หรือ ช้า ช้า เร็ว
    ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าขวาถอยหลัง นับ 1 ช้า
    ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าซ้ายถอยหลังเยื้องซ้าย ให้ปลายเท้าซ้ายเสมอระดับ
    ปลายเท้าขวา นับ 2 ช้า
    ก้าวที่ 3 ลากเท้าขวามาชิดเท้าซ้ายเร็วๆ นับ 3 เร็ว
  • *เมื่อจบแล้วให้เริ่มก้าวเท้าซ้ายถอยหลังไปโดยเร็ว นับ 1 ใหม่ *
    ก้าวที่ 1 ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง นับ 1 ช้า
    ก้าวที่ 2 ถอยเท้าขวาไปข้างหลังเยื้องขวา นับ 2 ช้า
    ก้าวที่ 3 ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาเร็วๆ นับ 3 เร็ว
    เมื่อทำการก้าวขั้นต้น ถอยหลังได้แล้ว ก็ลองทำการก้าวเท้าขั้นต้นเดินหน้าดูบ้าง ซึ่งลักษณะการเดินก็เหมือนกันกับการก้าวเท้าขั้นต้นถอยหลัง ผิดกันแต่เพียงเดินหน้ากับถอยหลังเท่านั้น หรือจะไปดูการก้าวเท้าขั้นต้นเดินหน้าของชายก็ได้


  • การก้าวเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขั้นต้น (Basic Square) ของฝ่ายชาย


- การลีลาศเป็นรูปสี่เหลี่ยม คือ ลักษณะการลีลาศจะเป็นเดินหน้าหนึ่งครั้ง และถอยหลังหนึ่งครั้งสลับกันไป
- จังหวะนับ จะนับทั้งเดินหน้าและถอยหลังรวมกัน มี 6 ก้าว
- การจับคู่และการยืน จับคู่แบบปิด หันหน้าตามแนวลีลาศ เท้าชิด ตัวตรง


ก้าวที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า นับ 1 ช้า
ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าขวาเฉียงขวาไปข้างหน้า นับ 2 ช้า
ก้าวที่ 3 ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา นับ 3 เร็ว
ก้าวที่ 4 ถอยเท้าขวาไปวางข้างหลัง นับ 4 ช้า
ก้าวที่ 5 ถอยเท้าซ้ายเฉียงซ้ายไปข้างหลัง นับ 5 ช้า
ก้าวที่ 6 ลากเท้าขวามาชิดเท้าซ้าย นับ 6 เร็ว


  • การก้าวเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขั้นต้น (Basic Square) ของฝ่ายหญิง


- เป็นการเต้นรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะการเต้นจะมีทั้งเดินหน้า และถอยหลังสลับกันไป
- จังหวะนับ จะนับทั้งเดินหน้าและถอยหลังรวมกัน คือมี 6 จังหวะ
- การจับคู่และการยืน ยืนหันหน้าเข้าหาคู่ คือหน้าย้อนแนวลีลาศ การจับคู่ให้จับแบบปิด


ก้าวที่ 1 ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง นับ 1 ช้า
ก้าวที่ 2 ถอยเท้าซ้ายเยื้องไปทางซ้าย นับ 2 ช้า
ก้าวที่ 3 ลากเท้าขวามาชิดเท้าซ้าย นับ 3 เร็ว
ก้าวที่ 4 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า นับ 4 ช้า
ก้าวที่ 5 ก้าวเท้าขวาเยื้องไปทางขวา นับ 5 ช้า
ก้าวที่ 6 ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา นับ 6 เร็ว


การไขว้




ภาพที่ 3 การไขว้


  • การไขว้ของฝ่ายชาย


- การไขว้ ก็คือ การทำการก้าวเท้าขั้นต้น มี 3 ก้าว
การไขว้ เป็นการทำคั่นระหว่างหันทางซ้าย (Reverse Square) กับหันทางขวา (Natural Square) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นตัวเชื่อมระหว่างหันทางซ้ายกับหันทางขวา หรือระหว่างหันทางขวากับหันทางซ้ายนั่นเอง


- สมมติว่าทำหันทางซ้ายมาแล้ว ต่อไปจะหันทางขวา ให้เริ่มทำการไขว้ ดังนี้ ยืนหันหน้าเฉียงฝาตามแนวลีลาศ
- การจับคู่ จับแบบปิด


  • จังหวะนับมี 3 จังหวะ
    ก้าวที่
    1 ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า นับ 1 ช้า
    ก้าวที่ 2 ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา นับ 2 ช้า
    ก้าวที่ 3 ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา นับ 3 เร็ว
  • *เมื่อทำครบ 3 ก้าวแล้ว ก็เริ่มทำหันทางขวาได้ โดยการก้าวเท้าขวาบิดไปทางขวา *





  • การไขว้ของฝ่ายหญิง


- การไขว้ ก็คือ การทำการก้าวเท้าขั้นต้น มี 3 ก้าว
การไขว้ เป็นการทำ 3 ก้าวก่อนที่จะทำหันทางขวา และก่อนที่จะทำหันทางซ้าย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นตัวเชื่อมระหว่างหันทางขวากับหันทางซ้าย หรือระหว่างหันทางขวากับหันทางซ้ายนั่นเอง
*สมมติว่าทำหันทางซ้ายมาแล้ว ต่อไปจะหันทางขวา ให้เริ่มทำการไขว้ คั่นก่อน 3 ก้าวดังนี้ยืนหันหน้ากลางห้องย้อนแนวลีลาศ*
- การจับคู่ จับแบบปิด


ก้าวที่ 1 ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง นับ 1 ช้า
ก้าวที่ 2 ถอยเท้าซ้ายเยื้องไปทางซ้าย นับ 2 ช้า
ก้าวที่ 3 ลากเท้าขวามาชิดเท้าซ้าย นับ 3 เร็ว


  • *เมื่อทำครบ 3 ก้าวแล้ว ต่อไปก็ทำหันทางขวาได้ โดยการถอยเท้าซ้ายเฉียงซ้ายไปข้างหลัง*


การหมุน




ภาพที่ 4 การหมุน


  • การหมุนของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
    ฝ่ายชายยืนหันหน้าทวนเข็มนาฬิกาตามทิศทางของฟลอร์เต้นรำ
  • การจับคู่ จับแบบปิด


- ชาย ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างหน้า 45 องศา
- หญิง ถอยเท้าขวาเฉียงลงไปด้านล่าง 45 องศา
- ชาย ก้าวเท้าขวา บิดตัวกลับหลังหัน ลากเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา และแยกเท้าขวาเฉียงลงด้านล่าง 45 องศา
- หญิง ก้าวเท้าซ้าย บิดตัวกลับหลังหัน ลากเท้าขวามาชิดเท้าซ้าย และแยกเท้าซ้ายเฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา
**ทำเช่นนี้อีก 1 ครั้ง จบการหมุน 1 รอบ**
ฝ่ายชายกลับมายืนหันหน้าทวนเข็มนาฬิกาตามทิศทางของฟลอร์เต้นรำ


โดย ลวดลายการเต้นรำจังหวะคิวบัน รัมบ้า จะคล้ายและมีชื่อเดียวกับลวดลายของจังหวะชา ชา ช่า จะต่างกันก็ตรงที่จำนวนการก้าวเท้าของคิวบัน รัมบ้า น้อยกว่า ชา ชา ช่า ลวดลายของจังหวะ คิวบัน รัมบ้า ที่เป็นลวดลายพื้นฐานและนิยมเต้นกันโดยทั่วไปได้แก่


1. เบสิค มูฟเม้นท์ (Basic Movement)


2. แฟน (Fan)


3. ฮอกกี้ สติ๊ก (Hocky Stic)


4. โอเพ่น ฮิพ ทวิสต์ (Open Hip Twist)


5. อเลมานา (Alemana)


6. แฮนด์ ทู แฮนด์ (Hand To Hand)


7. สปอท เทิร์น (Spot Turn)


8. แนชเชอรัล ทอป (Natural Top)


9. โอเพนนิ่ง เอ๊าท์ (Opening Out)


10. สไปรัล (Spiral)